ค้นหาบล็อกนี้

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ blog นี้ ??

รูปร่าง

การจัดองค์ประกอบหน้า

หน้าปก

หน้าปก

จุดและเส้น

การเขียนตัวอักษร

วาดการ์ตูน

บัตรคำ

หนังสือการ์ตูนเด็ก

หนังสือการ์ตูน

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กราฟิก

...."กราฟิก มาจากภาษากรีก 2 คำ (Graphic) คือ
- Graphien มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น และคำว่า
- Graphikes หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและภาพขาวดำ
....เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใดๆ ซึ่งแสดงความจริงและแสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียนและอัการข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ (Diagram) ภาพสเก็ต (Sketch) หรือแผนสถิติ (Graph) หรืออาจเป็นคำที่ใช้หัวเรื่อง (Title) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการณ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพือสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่างๆได้ วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่อง
ราวต่างๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ โฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ

องค์ประกอบงานกราฟิก มีดังนี้
1. เส้น
2. จุด
3. พื้นผิว
4. รูปร่างรูปทรง
5. สี
6. แสงและเงา

เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดยาว เกิดจากการนำจุดมาเคลื่อนที่หรือนำมาวางเรียงต่อๆกัน เส้นมีคุณสมบัติเด่นในการนำสายตา เป็นการแบ่งภาพ


คุณสมบัติของเส้น
-เส้นมีความยาวมากกว่าความกว้างและความหนาอย่างเห็นได้ชัดจึงทำให้รู้สึกไปทางด้านยาวข้างเดียว
-นำสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง
-แบ่งซอยภาพ


ความรู้สึกอารมณ์ของเส้นต่างๆในภาพ
-เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคงเป็นระเบียบ
-เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง พลังขับเคลื่อน
-เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกไม่เป็นระเบียบ การไม่อยู่ในกรอบความอิสระ หรือความสับสนวุ่นวายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเส้นจะหยักมากน้อยแค่ไหน
-เส้นเล็กและบาง ให้ความรู้สึกบางและเฉียบคม ในขณะที่เส้นหนาให้ความหนักแน่นในการนำสายตา


การผลิตงานกราฟิก
....วัสดุที่ใช้ในการผลิตงานกราฟิกเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดในการออกแบบโดยการขีดเขียนด้วยมือโดยตรงหรือเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้สวยงาม เหมาะกับแต่ละงานแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ สี ดินสอ ปากกา วัสดุอื่นๆ

1.กระดาษกระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อกระดาษไม่เหนียวมาก ใช้กับงานโฆษณาป้ายนิเทศ ซึ่งมี 2ชนิด คือ ชนิดหนา ชนิดบางกระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับทำบัตรดำแผนภูมิ แผนภาพ พื้นภาพผนึกกระดาษวาดเขียน เหมาะกับวาดภาพด้วยดินสอ ปากกา และสีน้ำกระดาษชาร์ทส์ เป็นกระดาษที่มีผิวเรียบ เหมาะกับการจัดป้ายนิเทศ ฉีกปะติดกระดาษอาร์ตมันเหมาะกับใช้พิมพ์ปกหรือภาพประกอบหนังสือกระดาษปอนด์ ใช้กับงานพิมพ์เอกสารทุกระบบเขียนด้วยปากกาเมจิกและโปสเตอร์ได้ดีไม่เหมาะกับการระบายสีน้ำหรือโปสเตอร์กระดาษลูกฟูกเหมาะกับทำสื่อการสอนประเภทกล่องหรืองานโครงสร้างรูปร่างรูปทรงที่คงทน

2.สีจำแนกตามคุณลักษณะสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่ สีเชื้อน้ำ สีเชื้อน้ำมันสีเชื้อน้ำ เป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นส่นผสมสีน้ำ บางใส่ชนิดเหลวบรรจุในหลอดส่วนชนิด แห่งบรรจุในกล่อง ใช้ระบายภาพบนกระดาษสีขาวหรือกระดาษวาดเขียนเท่านั้นสีโปสเตอร์ เป็นสีมีเนื้อสีหยาบกว่า ใช่ง่ายเหมาะกับการทำสื่อ การสอนได้ดีสีพลาสติก เป็นสีเชื้อน้ำที่มีเนื้อสีหยาบและเข้มกว่า เป็นสีที่ทนทานต่อแสงแดดและฝนเหมาะใช้งานกับพื้นที่กว้างใหญ่สีฝุ่น เป็นสีที่มีเนื้อสี เป็นผง ราคาถูกสีหมึก เป็นทั้งโปร่งแสงทึบแสงสีเชื้อน้ำมัน เป็นสีที่ใช้มันเป็นส่วนผสมหรือละลายได้

3.วัสดุขีดเขียนแบ่ง 2 ประเภท 3.1 วัสดุแข็ง ได้แก่ ปากกาและดินสอ3.1.1 ปากกาปลายแหลม ทำด้วยโลหะ ใช้จุ่มหมึกเขียนลายเส้นได้ขนาดเล็กมาก เหมาะกับงานต้นแบบลายเส้น3.1.2 ปากกาปลายสักหลาด ทำด้วยสักหลาดแข็ง3.1.3 ปากกาเขียนแบบ ปากกาคุณภาพดี ใช้กับหมึกที่มีความเข็มกว่าหมึกทั่วๆไป3.1.4 ปากกาเขียนทั่วไป ใช้จดบันทึก และเขียนภาพลายเส้น3.1.5 ดินสอดำ ใช้งานร่างแบบเขียนรูป ภาพลายเส้น ภาพแรงเงา3.2 วัสดุอ่อน เช่น พู่กัน แปรงทาสี และลูกกลิ้ง3.2.1 พู่กัน ใช้ได้ทั้งเชื้อน้ำและเชื้อน้ำมัน มี2 แบบ พู่กันกลม ใช้ตรวจภาพระบายสี พู่กันแบนเป็นพู่กันด้ามยาวใช้ในการเขียนตัวอักษร3.2.2 แปรงทาสี เป็นวัสดุที่มีขนแปลงแข็งด้ามสั้น ใช้กับงานพื้นที่กว้างๆ3.2.3 ลูกกลิ้ง เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นล้อหมุนหุ้มสวมด้วยผ้า หรือใยสังเคราะสำหรับดูดซับสี

4. วัสดุอื่นๆเช่น ไม่ฉากชุด ไม้ที มีดตัดกระดาษ กาวน้ำ กระดาษกาว เทปกาว กรรไกร ไม้บรรทัดภาพการ์ตูนเป็นภาพที่นิยมนำมาใช้ประกอบสื่อทัศนวัสดุต่างๆการ์ตูน คือ ภาพลายเส้นหรือภาพวาดที่มีลักษณะผิดเพื้อนความจริง แต่ก็ยังยึดหลักเกณฑ์ของความจริงอยู่บ้าง เขียนขึ้นเพื่อการสื่อความสื่อความหมายมุ่งให้อารมณ์ด้วยการล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันการคูณกับการเรียนการสอน เป็นสื่อการสอนที่ดีทำให้เด็กๆชอบ การ์ตูนที่นำใช้กับการเรียนการสอนควรมีลักษณะ คือคอมสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เป็นภาพตลกขบขัน ให้แง่คิดในทางที่ดีรูปลักษณะของการ์ตูนแบ่งเป็น 3 ลักษณะการ์ตูนโครงร่าง เป็นการ์ตูนอย่างง่ายที่เขียนโดยเส้นเดียวๆ แสดงท่าทางต่างๆ เหมาะใช้ประกอบการสอบการ์ตูนล้อเลียนของจริง เป็นภาพเขียนบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง โดยมีจุดมุ่งหมายจะล้อเลียนให้เกิดอารมณ์ขึ้นการ์ตูนเลียนของจริง เป็นลักษณะและสัดส่วนคล้ายกับของจริงตามธรรมชาติทั้งสัดส่วนรูปร่างท่าทาง และสภาพแวดล้อม

เทคนิคการเขียนภาพการ์ตูน

4.1 เขียนภาพการ์ตูนลายเส้นธรรมดา มุ่งให้เกิดอารมณ์ตลกขบขันจากการบิดเบี้ยวของเส้นและสีควรมุ่งถึงปัจจุบันดังนี้

1. ความเชื่อมั่นในเอง

2.วัสดุที่เขียน

3.ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเส้น

4.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้

5.การ์ตูนแสดงพฤติกรรมได้ 2 ส่วนคือ ส่วนใบหน้า และลำตัว

4.2 การวาดภาพ การ์ตูนเรื่อง แบ่งได้ดังนี้

1.ให้ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาภาพการ์ตูนหลายๆภาพ

2.การจัดภาพการ์ตูนให้เป็นเรื่องราว

ประโยชน์ของการเขียนการ์ตูน

5.1 ด้านร่างกาย เป็นการฝึกเพื่อเชื่อมโยงการรับรู้สู่การสัมผัส และถ่ายทอดออกเป็นรูปธรรม

5.2 ด้านอารมณ์ เน้นให้มีบรรยากาศ แห่งความสำเร็จย่อมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกภูมิใจ อารมณ์ดีจิตใจผ่องใส

5.3 ด้านสังคม ผู้เรียนมีอิสระสามารถลุกเดินไปมาเพื่อการผ่อนคลายได้

5.4 ด้านสติปัญญา

ตัวอักษร

ตัวอักษรแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1. การประดิษฐ์ด้วยมือโดยตรงเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ใช้วัสดุสำหรับเช่น พู่กัน ดินสอ ปากกา ขีดเขียนลงบนวัสดุ การประดิษฐ์จะเกิดความชำนาญและสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการดังนี้1.1 การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันแบน1.2 การประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง

2.การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้ในการประดิษฐ์ตัวอักษรมีหลายชนิดนับตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน เช่น เท็มเพลท ตัวอักษรลีรอย ตัวอักษรลอก จนกระทั่งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เช่น คอมพิวเตอร์

2.1 เท็มเพลท เป็นแบบตัวอักษรที่เจาะทะลุเป็นตัวๆบนแผ่นพลาสติกบางๆ

2.2 ตัวอักษรลีรอย เป็นร่องตัวอักษรบนไม้บรรทัด

2.3 ตัวอักษรลอก เป็นตัวอักษรบนแผ่นพลาสติก

2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องมีความรู้พื้นฐาน ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานกราฟิกสามารถจัดงานกราฟิกได้อย่างสวยงาม เช่นโปรแกรมสร้างสรรค์งานกราฟิก โปรแกรมสำหรับการนำเสนอ